ประวัติ สุลต่าน สุไลมาน ชาห์ แห่งซิงกูร์หรือซิงกอรา[สิงขรานคร'สงขลา]
- Hasan Hayeehamad
- Nov 5, 2018
- 2 min read
{

ฯที่มุสลิมไทยในอดีตที่โลกควรรู้จัก } : สุลต่าน สุไลมาน ชาห์ แห่งซิงกูร์หรือซิงกอรา[สิงขรานคร'สงขลา] ราชอาณาจักรที่ถูกทำเป็น{ลืม} ...............................................
สุลต่านสุไลมาน หรือ สุลัยมาน อดีตสุลต่านแห่งซิงกูร์หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าซิงกอรา(สิงขรานคร ' สงขลา) เป็นบุตรของ ดะโต๊ะ โมกอล นักการเผยแพร่อิสลามและพ่อค้าชาวอาหรับ ที่แรกเริ่มมาปักหลักค้าขาย อยู่ในชวาภาคกลางที่ เมืองสาเลห์ (Saleh) ประเทศอินโดนีเซีย บนฝั่งแม่น้ำปรากา จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.๒๑๔๘ (สเปน.โปรตุเกส.อังกฤษ.ฝรั่งเศส.)เจ้านักล่าอาณานิคมเมืองขึ้นได้เข้าโจมตีทางทะเลด้วยกำลังคน และอาวุธที่เหนือกว่า จนต้องย้ายครอบครัวและสมัครพรรคพวกร่นถอยหนีมาภาคใต้ตอนแหลมมลายู อาหรับกับเปอร์เซียที่มาค้าขายในแถบอาเซียนนี้ จะมีสองกลุ่มหลักคือ เป็นมุสลิม(อิสลาม) จะมีมากแถวอาเจะห์ มลายู และศาสนาชีอะห์ จะมีมากในกรุงศรีอยุธยา เช่น ต้นสกุล บุนนาค
(พ.ศ.๒๐๔๑ นักเดินเรือชนชาติโปรตุเกส วาสโค ดา กามา ได้ค้นพบเส้นทางเดินเรือผ่านแหลมโชคดี (Cape of Good Hope) เข้าสู่อินเดีย ทวีปเอเชีย และหมู่เกาะต่างๆ ย่านทะเลใต้ได้)
ผลของการทำสงครามกับฝรั่งล่าอาณานิคมเมืองขึ้น ถูกโจมตีด้วยเรือไฟ และระเบิดเพลิง จนเมืองเผาไหม้ และจะเข้าสู้รบระยะปะชิดไม่ได้เลย ดาโต๊ะ โมกอล จึงต้องอพยพครอบครัวและบริวารลงเรือสำเภา หนีภัยสงครามที่พ่ายแพ้กับฝรั่งนักล่าอาณานิคมเมืองขึ้น ฝ่าคลื่นลมเป็นเวลาหลายวัน เข้ามาสู่อ่าวไทย ด้วยการแล่นเรือเรียบชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย เล็งเห็นว่าปากน้ำทะเลสาบใกล้เมืองสทิงปุระที่บางช่วงจะเป็น เมืองขึ้นกับพัทลุง บางช่วงจะอยู่กับนครศรีธรรมราช ขณะเดียวกัน นครศรีธรรมราช ก็ไม่สนใจพื้นที่นี้มากนัก เพราะห่างไกล เดินทางด้วยเรือลำบาก ไม่คุ้มกับการรบหรือมาครอบครอง เพราะทรัพยากรน้อย ปลูกข้าวได้น้อยส่วนหนึ่ง ป่าไม้ก็ไม่มี โรคภัยก็มาก ซึ่งจริงๆแล้วแถวนี้เป็นแถวทะเลน้อยเป็นทะเลสาบน้ำจืด+กร่อย มีภูเขาบังคลื่มลมได้ดีจึงแวะเข้าพักขึ้นในบริเวณนี้ และทำการสำรวจโดยรอบแล้วเห็นว่าเป็นทำเลที่ดี จึงได้ขึ้นบกที่ ณ (ปัจจุบันอยู่ที่ ณ ที่หัวเขาแดง เมือง สิงขรานคร หรือ สงขลา)
ไม่นาน ท่านก็ขึ้นปกครองแห่ง ซิงกูร์ซิงกอรา["สิงขรานคร'สงขลา”]เมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๓ - พ.ศ.๒๒๑๓ เป็นสุลต่านปกครองได้ ๕๐ เศษ โดยได้สถาปนาตนเองเป็น สุลต่าน สุลไลมาน ชาห ์เป็น ผู้ปกครองแห่งราชอาณาจักร แห่ง ซิงกูร์หรือซิงกอรา [สิงขรนครี"สงขลา] ท่านได้ปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรืองหลายด้าน เช่น ด้านการค้ากับต่างประเทศ มีการปรับปรุงท่าเรือให้ทันสมัยจนเป็นท่าเรือเสรี มีการผลิตเงินตราขึ้นมา ใช้เอง ด้านการพัฒนาบ้านเมืองมีการสร้างกำแพงเมือง คูเมืองและสร้างป้อมเพิ่มขึ้นมากมายในราชอาณาจึงได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่มีป้อมปราการแข็งแรงที่สุดในภาคใต้ ด้านความมั่นคงได้สร้างกองทัพที่เข้มแข็ง ชำนาญ ทั้งการรบและยุทธวิธีในการทำศึกสงครามและด้านการปกครอง
ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ปลอดภัย จึงเข้ามาค้าขาย ยังความเจริญมาสู่ ซิงกูร์หรือซิงกอรา (สิงขรานคร"สงขลา) ค.ศ.๑๖๒๒ (ตรงกับ พ.ศ.๒๑๖๕ )
ระยะแรกในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม สุลต่านสุไลมานยังยอมสวามิภักดิ์ต่อกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในปีพ.ศ. 2173 เจ้าพระยากลาโหมศรีสุริยวงศ์ ปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ด้วยการประหารชีวิต พระเจ้าอาทิตยวงศ์กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นหลานชายของตนเอง แล้วชิงบรรลังค์ขึ้นครองราชย์ ตั้งพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง" (ครองราชย์ พ.ศ. 2173-2199) สุลต่านสุไลมานก็แข็งข้อ ไม่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาเพราะสัตยาบันที่เคยให้ไว้ต่อพระราชวงศ์ก่อน
สุลต่านสุไลมาน มีความเห็นว่า มิใช่ประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฎมนเฑียรบาลเพราะสัตยาบันที่เคยให้ไว้ต่อพระราชวงศ์ก่อน จึงประกาศแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา และได้เป็นรัฐเอกราชตั้งแต่ปี พ.ศ. 2173 ขณะเดียวกันก็พัฒนาป้อมปราการเมืองสงขลา ตามหนังสือเก่าระบุว่ามีทั้งหมด 14 ป้อม ทางกรุงศรีอยุธยาก็ไม่พร้อมจะมารบด้วย ดังจะเห็นได้จากการตั้งให้พ่อค้าญี่ปุ่น ที่มาเป็นทหารรับจ้างคือ ออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) มารับจ้างปราบเมืองนครศรีธรรมราช ด้วยการฆ่าฟันล้างฆ่าอย่างทารุณ ตามคำเล่าขานของคนเก่าคนแก่ แต่ประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยบันทึกไว้ ดังจะเห็นได้จากตำนานบทเ่ห่กล่อมลูกหลานของเมืองนครว่า (ถ้าใครเคยอ่านบทนี้จะเข้าใจดี สำหรับคนที่ไม่เคยรู้มาก่อนลองไปค้นหาในGoogleดูนะครับ)
ไก่อูกเหอ ไก่อูกหางลุ่น ข้าหลวงญี่ปุ่น ทำวุ่นจับเด็ก จับเอาแต่สาวสาว บ่าวบ่าวไปทำมหาดเล็ก ญี่ปุ่นจับเด็ก วุ่นทั้งเมืองนครเอย ”
ข้อสังเกตุ ยามาดะ จะไปรบที่ปัตตานี(อาณาจักรปาตานี) ไม่เข้ามารบที่ซิงกูร์หรือซิงกอรา(สิงขรานคร"สงขลา)ในยุคนั้นเลย แสดงว่า อำนาจกรุงศรีอยุธยา ทำอะไรกับราชอาณาจักรซิงกูร์หรือซิงกอรา(สิงขรานคร"สงขลา)ไม่ได้ จึงต้องไปรบที่เมืองอื่นแทน
ต่อมาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ในปี พ.ศ. 2223 โปรดเกล้าฯให้พระยารามเดโช(ชู) เป็นแม่ทัพยกทัพหลวงไปร่วมกับ กองทัพหัวเมืองภาคใต้ มีกองอาสาสมัคร(นักรบรับจ้าง)สเปน'โปรตุเกสและดัชท์ ยกทัพตี (ตามหลักฐานบันทึกของพวกดัชท์ที่เก็บรักษาไว้อยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์)
ในที่สุดก็ถูกกองทัพของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในรัชสมัยถัดมาได้มาปราบปรามได้สำเร็จในปีพ.ศ. ๒๒๒๓ เมืองอาณาก็ถูกเผาผลาญเสียหายมาก ส่วนป้อม คู กำแพงเมืองถูกทำลายกลายเป็นเมืองร้าง เพื่อไม่ให้รือฟื้นมาอีก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงโปรดเกล้าฯ ให้สลายเมืองยึดทรัทย์สินและกำลังทหารเสียเกือบหมดสิ้น แต่่ก่อนหน้านี้กองทัพอยุธยาและทัพหัวเมืองใต้เคยบุกมายึดหลายครั้งคราวแล้ว แต่กลับไม่สำเร็จและพ่ายแพ้ไปทุกครั้ง
สิงขรนครีจึงย้ายไปตั้งที่เขาไชยบุรี ซึ่งฟาริซีน้องชายสุลต่านสุลัยมานไปสร้างไว้ตามคำสั่งของสุลต่าสุลัยมาน สมเด็จพระนารายณ์ฯจึงโปรดให้ฟาริซี ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองพัทลุงต่อไป
ฟาริซี ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. ๒๒๒๕ ปีเดียวกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ผู้คนบางกลุ่มอพยพมาสร้างเมืองสงขลาใหม่ที่แหลมสน เรียกว่า เมืองสงขลาที่แหลมสนต่อจากนั้นหากมีเชื้อสายสุลต่านสุลัยมาน รับราชการเป็นผู้ใหญ่พอที่จะดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ หรือเจ้าเมืองได้ก็มักจะโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง พระยาพัทลุงบรรดาบุตรของ สุลต่าน สุลัยมาน ชาห์ คือ มุสตอฟา ฮัสซัน และหุเซนถูกจับขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยา(สุลต่านสุลัยมานชาห์มีบุตรชาย 3 คน คือ มุสตาฟา บุตรชายคนโต หะซันบุตรชายคนรอง และหุเซนบุตรชายคนเล็ก) ต่อมาได้รับพระกรุณาธิคุณจนได้รับศักดินาสูงส่ง มุสตอฟาได้เป็นพระยาไชยา ฮัสซันได้เป็นพระยาราชวังสันและหุเซนได้เป็นพระยาพัทลุงคนที่ 3 พระกรณียกิจแห่งสุลต่าน สุลัยมานในด้านต่างๆนั้นมีมากมาย
ครั้นต่อมาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(ครองราชย์ พ.ศ.๒๑๙๙-๒๒๓๑) ในปี พ.ศ. ๒๒๒๓โปรดเกล้าฯให้พระยารามเดโช(ชู)เป็นแม่ทัพยกทัพหลวงไปร่วมกับทัพหัวเมืองภาคใต้ มีกองอาสาสมัครโปรตุเกสและดัชท์ร่วมด้วย ยกไปปราบราชอาณาจักรซิงกูร์หรือซิงกอรา(สิงขรานคร"สงขลา)จนได้รับชัยชนะ (ขณะนั้นท่านมุสตอฟาบุตรชายคนโตของสุลต่านสุลัยมานเป็นสุลต่านซิงกูร์หรือซิงกอราอยู่ มุสตอฟาย้ายไปอยู่ที่เมืองไชยา อันเป็นหัวเมืองตรีอยู่ทางเหนือของนครศรีธรรมราช ส่วนท่านฮัสซันและหุเซ็นให้อพยพเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยา
ท่านฮัสซันนั้นได้เข้ามารับราชการอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในภายหลังต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา พระยารามเดโช(ชู)เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฏ พระยาราชวังสัน(มะหมุด)ซึ่งเป็นบุตรชายคงจะอยู่ไม่ได้หรืออาจเกิดเหตุการณ์ใดกับท่าน สมเด็จพระเพทราชาจึงโปรดเกล้าฯให้ท่านฮัสซันดำรงตำแหน่งพระยาราชวังสันแทน พระยาราชวังสัน(ฮัสซัน)มีบุตรชื่อ ขุนลักษมณ(บุญยัง) ซึ่งต่อมาเป็นบิดาของเจ้าพระยาจักรี (หมุด)สายสกุลสุลต่านสุลัยมาน(ชาห์)ผู้สืบทอดบรรดาศักดิ์พระยาราชวังสันตำแหน่งจางวางอาสาจามเดิมตั้งแต่มีปรากฏในพงศาวดารตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยานั้น ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวังสันหรือพระยาราชวังสันล้วนแล้วแต่เป็นมุสลิมชนชาติจาม จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระเพทราชาเมื่อพระยารามเดโช(ชู)เชื้อสายจามแข็งเมือง และบุตรชายคือพระยาราชวังสัน(มะหมุด)ซึ่งเป็นจางวางอาสาจามขณะนั้นคงจะอยู่รับราชการไม่ได้ตำแหน่งจางวางอาสาจามจึงว่างลง สมเด็จพระเพทราชาจึงทรงแต่งตั้งท่านฮัสซัน(บุตรสุลต่านสุลัยมานชาห์)เป็นพระยาราชวังสันแทน คงเนื่องจากเห็นว่ามีความชำนาญเรื่องการเดินเรือและเป็นมุสลิมเช่นเดียวกัน
สายสกุลของสุลต่านสุลัยมานชาห์จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชวังสันจางวางอาสาจามตั้งแต่นั้นมา และแม้ว่าพระยาราชวังสัน(ฮัสซัน)จะต้องโทษถูกประหารชีวิตในครั้งศึกนครศรีธรรมราชก็ตาม แต่ต่อมาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (ครองราชย์ ๒๒๕๑ - ๒๒๗๕)ท่านตะตาซึ่งเป็นบุตรของพระยาแก้วโกรพพิชัย ก็ได้รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นพระยาราชวังสัน และต่อมาเมื่อโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระยาราชวังสัน(ตะตา)เป็นพระยาแก้วโกรพพิชัยแทนบิดา ก็ทรงโปรดแต่งตั้งให้น้องชายของท่านตะตาเป็นพระยาราชวังสันแทน ตำแหน่งพระยาราชวังสันได้รับการสืบทอดในสายสกุลสุลต่านสุลัยมานจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีไม่มีปรากฏว่ามีตำแหน่งพระยาราชวังสัน แต่หากมีการใช้ทัพเรือเป็นทัพหลวงเมื่อใดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงโปรดแต่งตั้งให้เจ้าพระยจักรี(หมุด)เป็นแม่ทัพเรือทุกครั้งจนกระทั่งเจ้าพระยาจักรี(หมุด)ถึงอสัญกรรม เมื่อสิ้นกรุงธนบุรี จึงเริ่มปรากฏตำแหน่งพระยาราชวังสันอีกครั้ง
โดยในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีพระยาราชวังสัน(หวัง) และต่อมาพระยาราชวังสัน(แม้น) พระยาราชวังสัน(ฉิม) พระยาราชวังสัน(นก)และพระยาราชวังสัน (บัว)ซึ่งเป็นพระยาราชวังสันท่านสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งจางวางอาสาจาม ซึ่งทุกท่านล้วนแล้วแต่สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุลัยมานชาห์ทั้งสิ้นตระกูลที่สืบจากสายสกุลสุลต่านสุลัยมานของท่านมีดังนี้๑.สุคนธราภิรมย์ ๒.ณ พัทลุง ๓.โกไศยกานนท์ ๔.คชสวัสดิ์ ๕.ชลายนเดชะ ๖.พิทักษ์คุมพล ๗.ทองคำวงศ์ ๘.วัลลิโภดม ๙. มโนรมย์ ๑๐.ศรุตานนท์๑๑.ศิริธร ๑๒.ศิริสัมพันธ์ ๑๓.สมุทรานนท์ ฯลฯ
Comments